โนรา




โนรา


                  มโนราห์ หรือ “โนรา” ที่คนใต้เรียกชื่อกล่าวขานกัน แรกเริ่มได้เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา ได้รับอิทธิพลจากอินเดียโบราณ มีเครื่องดนตรีประกอบ คือ โหม่ง ฉิ่ง ทับ กลอง ปี่ เรียกว่า เบ็ญจสังคีต ซึ่งเกิดขึ้นครั้งเรียกที่ เมืองพัทลุง หรือปัจจุบันคือ ตำบลบางแก้ว จังหวัดพัทลุง เป็นศิลปะถ่ายทอดมาจากรุ่นบรรพชนสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน จนสืบกันมาจนถึงปัจจุบันนี้






ท่ารำเครื่องดนตรีของมโนราห์ประกอบไปด้วย
๑. ทับ (โทนหรือทับโนรา)
๒. กลอง เป็นกลองทัดขนาดเล็ก
๓. ปี่ เป็นเครื่องเป่าเพียงชิ้นเดียว
๔. โหม่ง คือ ฆ้องคู่
๕. ฉิ่ง
๖. แตระ หรือ แกระ คือ กรับ มี ทั้งกรับ










เครื่องแต่งกายของมโนราห์ ประกอบด้วยสิ่งสำคัญต่อ ไปนี้
๑. เทริดเป็นเครื่องประดับ ศรีษะของตัวนาย
๒.เครื่องลูกปัด เครื่องลูกปัดจะร้อยด้วยลูกปัดสี
๓. ปีกนกแอ่น หรือ ปีกเหน่ง มักทำด้วยแผ่นเงินเป็นรูปคล้ายนก
๔. ซับ ทรวง หรือทับทรวง หรือตาบ สำหรับสวมห้อยไว้ตรงทรวงอก
๕. ปีก หรือที่ชาวบ้าน เรียกว่า หางหรือหางหงส์นิยมทำด้วยเขาควาย มีพู่ทำด้วยด้ายสีติดไว้ เหนือปลาย ปีก ใช้ลูกปัดร้อยห้อยเป็นดอกดวงรายตลอด
๖. ผ้านุ่ง เป็นผ้ายาวสี่เหลี่ยมผืนผ้า
๗. เพลา เหน็บเพลา หนับเพลา ก็ คือ สนับเพลา สำหรับ สวมแล้วนุ่งผ้าทับ
๘. หน้าผ้า ลักษณะเดียวกับชายไหว ถ้าเป็นของโนราใหญ่
๙. ผ้าห้อย คือ ผ้า สีต่าง ๆ ที่คาดห้อยคล้ายชายแครง
๑๐. กำไล ต้นแขนและปลายแขน เป็นกำไลสวมต้นแขน เพื่อขบรัดกล้ามเนื้อให้ดูทะมัดทะแมงและเพิ่มให้สง่างามยิ่งขึ้น
๑๑. กำไล กำไลของโนรามัก ทำด้วยทองเหลือง ทำเป็น วงแหวน ใช้สวมมือ และเท้าข้างละหลาย ๆ วง
๑๒. เล็บ เป็นเครื่องสวมนิ้ว มือให้โค้งงาม คล้ายเล็บกินนร
๑๓. หน้าพราน เป็นหน้ากากสำหรับตัว "พราน" ซึ่ง เป็นตัวตลก
๑๔. หน้าทาสี หน้าผู้หญิง มักทาสีขาว

ท่ารำของมโนห์รา ไม่ยึดหลักหรือรูปแบบ ทุกคณะสามรถรำได้ เพราะการรำโนรา เครื่องดนตรีจะบรรเลงตามท่ารำต้องรำให้เข้ากับ
จังหวะนั้น ๆ ด้วย เมื่อผู้รำจะเปลี่ยนท่ารำจากท่าหนึ่งไปยังอีกท่าหนึ่ง เครื่องดนตรีก็จะต้องเปลี่ยนเพลงไปด้วย การรำนั้นมีการรำที่เป็นแบบ
แผนมานานมากแล้ว โดยเฉพาะ อย่างท่ารำบทครูสอนรำ และบทประถม ก็ได้สืบต่อกันมาจนถึงรุ่นหลัง ท่ารำต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไปบ้าง




การทรงตัวของผู้รำ ผู้ที่จะรำโนราได้สวยงามและมีส่วนถูกต้องอยู่มากนั้น จะต้องมีพื้นฐานการทรงตัว ดังนี้
- ช่วงลำตัว จะต้องแอ่นอกอยู่เสมอ หลังจะต้องแอ่นและลำตัวยื่นไปข้างหน้า ไม่ว่าจะรำท่าไหน หลังจะต้องมีพื้นฐานการวางตัว
แบบนี้เสมอ
- ช่วงวงหน้า วงหน้าหมายถึงส่วนลำคอจนถึงศีรษะ จะต้องเชิดหน้าหรือแหงนขึ้นเล็กน้อยในขณะรำ
- การย่อตัว การย่อตัวเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง การรำโนรานั้นลำตัวหรือทุกส่วนจะต้องย่อลงเล็กน้อย นอกจากย่อลำตัวแล้ว เข่าก็จะต้อง
ย่อลงด้วย
- ส่วนก้น จะต้องงอนเล็กน้อย ช่วงสะเอวจะต้องหัก จึงจะทำให้แลดูแล้วสวยงาม

การเคลื่อนไหว นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอีกอย่าง เพราะการรำโนราจะดีได้นั้น ในขณะที่เคลื่อนไหวลำตัว หรือจะเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งก็ดี
เช่น การเดินรำ ถ้าหากส่วนเท้าเคลื่อนไหว ช่วงลำตัวจะต้องนิ่ง ส่วนบนมือและวงหน้าจะไปตามลีลาท่ารำ ท่ารำโนราที่ถือว่าเป็นแม่ท่ามาแต่
เดิมนั้นคือ " ท่าสิบสอง
ท่าสิบสอง โนราแต่ละคนแต่ละคณะอาจจะมีท่ารำไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจจะได้รับการสอนถ่ายทอดมาไม่เหมือนกัน (ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว )
บางตำนานบอกว่ามีท่ากนก ท่าเครือวัลย์ ท่าฉากน้อย ท่าแมงมุมชักใย ท่าเขาควาย บางตำนานบอกว่ามีท่ายืนประนมมือ ท่าจีบไว้ข้าง ท่าจีบ
ไว้เพียงสะเอว ท่าจีบไว้เพียงบ่า ท่าจีบไว้ข้างหลัง ท่าจีบไว้เสมอหน้า
ท่ารำบทครูสอน เป็นท่าประกอบคำสอนของครูโนรา เช่น สอนให้ตั้งวงแขน เยื้องขาหรือเท้า สอนให้รู้จักสวมเทริด สอนให้รู้จักนุ่งผ้าแบบ
โนรา ท่ารำในบทครูสอนนี้นับเป็นท่าเบื้องต้นที่สอนให้รู้จักการแต่งกายแบบโนรา หรือมีท่าประกอบการแต่งกาย
ท่ารำยั่วทับ หรือ รำเพลงทับ เป็นการรำหยอกล้อกันระหว่างคนตีทับกับคนรำ โดยคนรำจะรำยั่วให้คนตีทับหลงไหลในท่ารำ เป็นท่ารำที่แอบ
แฝงไว้ด้วยความสนุกสนานและตื่นเต้น โดยผู้รำจะใช้ท่ารำที่พิสดาร เช่น ท่าม้วนหน้า ม้วนหลัง ท่าหกคะเมนตีลังกา
ท่ารำรับเทริด หรือ รำขอเทริด เป็นการรำเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด เพราะการรำรับเทริดนิยมรำหลังจากมีการรำเฆี่ยนพรายหรือรำ
เหยียบลูกมะนาวเสร็จแล้ว ที่ต้องรำด้วยลีลาท่าที่สวยงาม นอกจากมีท่ารำแล้ว ยังมีคำพูดสอดแทรกโต้ตอบกันด้วย



กลอนที่ขับร้องประกอบกับการรำมีหลายบทมาก จึงขอนำกลอนสักบทมาเป็นตัวอย่างซึ่งกลอนบทนี้ชื่อว่า บทครูสอน ดังนี้
ครูเอยครูสอน สอนแล้วแม่นาครูสอนเสดื้องกรต่อง่า
ครูสอนให้ผูกผ้า สอนแล้วแม่นาผูกผ้าสอนให้ข้าทรงกำไหล
สอนให้ครอบเทริดน้อย สอนแล้วแม่นาครอบเทริดน้อยแล้วจับสร้อยพวงมาลัย
สอนให้ทรงกำไหล สอนแล้วแม่นาทรงกำไหลสอดใส่ซ้ายใส่ขวา
ครูให้เสดื้องเยื้องข้างซ้าย ออว่าเสดื้องเยื้องข้างซ้ายตีค่าได้ห้าพารา
ครูให้เสดื้องเยื้องข้างขวา ออว่าเสดื้องเยื้องข้างขวาตีค่าได้ห้าตำลึงทอง
ตีนถีบพนัก ถีบแล้วแม่นะพนักส่วนมือชักเอาแสงทอง
หาไหนจะได้เหมือนน้อง หาไหนแม่นะได้เหมือนน้องทำนองพระเทวดา


ทั้งหมดนี้คือศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของ มโนราห์ ซึ่งจริง ๆ ถ้าผู้ที่ฝึกรำนั้นรำได้คล่องแล้ว ต่อมาก็จะมีพิธีไหว้บูชาครู หรือที่เรียกว่า
“ครอบครู” เพื่อให้เกิดสิริมงคลและได้ให้ผู้ที่รำได้มีความเคารพ บูชาครูมโนราห์ เป็นการแสดงความซื่อตรงและรำลึกคุณงามความดีของครู
เป็นผู้ประสาทวิชาการรำมโนราห์ให้และเป็นการถ่ายทอดให้อนุชนรุ่นหลังสืบมา อีกส่วนหนึ่งของการรำมโนราห์ได้ภายในวงจะต้องประกอบ
ไปด้วย ผู้รำ คนบรรเลงดนตรี คนขับบทกลอน ต้องคอยประสานกันถึงจะมีความสมบูรณ์แบบ ถ้าหากว่าขาดส่วนใดไป ก็ไม่สามารถแสดงต่อ
หน้าสาธารณชนได้ เพราะขาดความสุนทรียภาพของการชมไปทุกส่วนย่อมมีความสำคัญมากไม่ว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลัง อาทิ ตีกลอง ขับร้องกลอน
และอื่น ๆ หรือคนที่อยู่เบื้องหน้า คือ ตัวผู้รำที่สร้างความสุขให้กับผู้ที่มาชม ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามโนราห์เป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมที่ดีงาม
ที่ควรรักษาเอาไว้ให้อยู่จนถึงรุ่นลูกหลานสืบไป















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น